วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

สุภาษิต

ความหมาย
ได้แก่คำพูดที่พูดออกมา ไม่ว่าจะเป็นทำนองสำนวนโวหาร หรือคำพังเพย แต่มีเนื้อความหรือความหมายที่ดี เป็นคำตักเตือนสั่งสอน และสะกิดใจให้ระลึกถึงอยู่เสมอ มีอยู่ 2 ประเภท คือ
1. คำสุภาษิตประเภทที่ พูด อ่าน หรือเข้าใจเนื้อความได้ทันที โดยไม่ต้องแปลความหมาย ตีความหมายเช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
2. คำสุภาษิตประเภทที่ พูด อ่าน หรือฟังแล้วยังไม่เข้าใจเนื้อความนั้นในทันที ต้องนึกตรึกตรอง ต้องแปลความ ตีความหมายเสียก่อนจึงจะทราบเนื้อแท้ของคำเหล่านั้น เช่น ผีบ้านไม่ดีผีป่าก็พลอย
สำนวน
ความหมาย ได้แก่คำที่พูดหรือกล่าวออกมาทำนองเป็นโวหาร เป็นคำพังเพยเปรียบเทียบ จึงฟังแล้วมักจะ ไม่ได้ความหมายของตัวมันเอง ต้องนำไปประกอบกับบุคคล กับเรื่อง หรือเหตุการณ์จึงจะได้ความหมายเป็น คติ เตือนใจเช่นเดียวกับคำที่เป็นสุภาษิต
คำพังเพย
หมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นมาเป็นความหมายกลาง ๆ คือ ไม่เน้นการสั่งสอน แต่ก็แฝงคติเตือนใจหรือ ข้อคิดสะกิดใจให้นำไปปฏิบัติได้ และ เนื้อหาของใจความนั้นก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นความดี หรือ ความจริงแท้ แน่นอน
คำคม
หมายถึง ถ้อยคำที่คิดขึ้นมาในปัจจุบันทันด่วน เป็นถ้อยคำที่หลักแหลม ซึ่งสามารถเข้ากับเหตุการณ์นั้น ได้อย่างเหมาะเจาะ ทั้งยังชวนให้คิด ถ้าพูดติดปากกันต่อไปก็จะกลายเป็นสำนวนไปได้

ประวัติเงาะป่า

ประวัติ
บทละครเรื่องเงาะป่านี้ แม้จะมีรูปแบบของกลอนบทละคร แม้ก็มิได้ทรงมีพระประสงค์เพื่อใช้เล่นละครแต่อย่างใด หากแต่ทรงแต่งขึ้นเพื่อเป็นที่ผ่อนคลายและสำราญพระทัย ทรงแต่งแล้วเสร็จเมื่อวันศุกร์ ที่ 2 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2448) (หากนับตามปัจจุบัน เป็น พ.ศ. 2449 แล้ว) แล้วได้แก้ไขอีกบ้างเล็กน้อยเมื่อทรงมีเวลา และได้ทรงพระราชนิพนธ์คำนำ เมื่อวันที่ 14 มีนาคม ในปีเดียวกัน แล้วโปรดฯ ให้ตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2456
ทั้งนี้ได้ทรงบันทึกเวลาที่ทรงพระราชนิพนธ์เอาไว้ท้ายเรื่องดังนี้
พระนิพนธ์เงาะป่าว่าตามเค้า
คนังเล่าแต่งต่อล้อมันเล่น
ใช้ภาษาเงาะป่าว่ายากเย็น
แต่พอเห็นเงื่อนเงาเข้าใจกัน
ทำแปดวันครั้นมาถึงวันศุกร์
สิ้นสนุกไม่มีที่ข้อขัน
วันที่สองของเดือนกุมภาพันธ์
ศกร้อยยี่สิบสี่มั่นจบหมดเอย

[แก้] ลักษณะคำประพันธ์และภาษา
บทละครเรื่องเงาะป่านี้แต่งด้วยกลอนบทละคร ตลอดทั้งเรื่อง มีการบอกเพลงกำกับไว้ด้วย ทรงใช้ภาษาอย่างเรียบง่ายแต่มีความไพเราะ ไม่มีศัพท์สูงๆ ที่เข้าใจยากอย่างวรรณคดีทั่วไป ทว่าได้ทรงสอดแทรกคำศัพท์ภาษาก็อย (ซาไก) ไว้โดยตลอด อย่างไรก็ตาม ก่อนถึงเนื้อเรื่อง มีบัญชีศัพท์ภาษาก็อยใส่ไว้เพื่อให้ผู้อ่านสามารถพลิกมาเปิดหาความหมายของคำศัพท์เหล่านั้นได้โดยสะดวก แต่แม้ผู้อ่านจะไม่ได้ย้อนกลับมาเปิดศัพท์ ก็คงอ่านได้รู้เรื่องโดยไม่ยาก เพราะมักทรงใช้คำศัพท์ภาษาก็อยควบคู่กับภาษาไทย ทำให้สามารถเดาความหมายภาษาก็อยได้
คำศัพท์ภาษาก็อยนี้ เดิมนั้นพระราชสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงเก็บมาจากเงาะป่าคนหนึ่ง ชื่อคนัง ที่ทรงนำไปเลี้ยง ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในคำนำว่า "ส่วนศัพท์ภาษาก็อยไล่เลียงจากอ้ายคนังทั้งนั้น แต่ไม่ใช่ไล่เลียงขึ้นสำหรับหนังสือนี้ ได้ชำระกันแต่แรกมา เพื่อจะอยากรู้รูปภาษาว่ามันเปนอย่างไร แต่คำให้การนั้นได้มากแต่เรื่องนกหนูต้นหมากรากไม้ เพราะมันยังเปนเด็ก บางทีผู้อ่านจะเหนื่อยหน่าย ด้วยคำที่ไม่เข้าใจมีมาก จึงได้จดคำแปลศัพท์ติดไว้ในสมุดเล่มนี้ด้วย"

[แก้] เนื้อหา
เป็นนิยายรักสามเส้า เรื่องราวของหนึ่งหญิงสองชายชาวป่า ตอนเริ่มต้นกล่าวว่าได้เค้าเรื่องจากคำบอกเล่าของ ยายลมุด หญิงเฒ่าชาวเงาะ เมืองพัทลุง แล้วดำเนินเรื่องว่า คนัง เงาะชาวพัทลุงกำพร้าพ่อแม่ อยู่กับพี่ชายชื่อ แค วันหนึ่งคนังชวนเพื่อนชื่อ ไม่ไผ่ ไปเที่ยวป่าพบ ซมพลา เงาะหนุ่ม ล่ำสันแข็งแรง เก่งในทางใช้ลูกดอก ซมพลาหลงรัก ลำหับ พี่สาวไม่ไผ่ ลำหับ เป็นคู่หมั้นของ ฮเนา ซมพลาได้พบไม้ไผ่ก็ดีใจ สอบวิธีเป่าลูกดอกให้ไม้ไผ่และคนัง ซมพลาเผยความในใจที่มีต่อลำหับให้ไม้ไผ่ฟัง ไม้ไผ่เต็มใจช่วย ออกอุบายให้ซมพลาได้พบกับลำหับ ลำหับยินดีรับรักซมพลา พอถึงวันแต่งงานของฮเนากับลำหับ ไม้ไผ่กับคนังได้ช่วยซมพลาพาลำหับหนี ฮเนากับรำแก้ว พี่ชายออกติดตาม ซมพลานำลำหับไปซ่อนไว้ในถ้ำแล้วออกไปหาอาหาร พบฮเนาเข้าเกิดต่อสู้กัน รำแก้วเข้าช่วยน้องชาย ใช้ลูกดอกเป่าถูกซมพลา ลำหับเห็นซมพลาหายไป จึงออกตามหา พบซมพลาขาดใจตายไปต่อหน้าต่อตา ก็เสียใจฆ่าตัวตายตาม ฮเนาได้เห็นความรักอันเด็ดเดี่ยวของซมพลากับลำหับ รู้ตัวว่าเป็นเหตุให้ทั้งสองต้องเสียชีวิต จึงตัดสินใจฆ่าตัวตายตามไปด้วย
เรื่องจบลงตอนเมืองสงขลาสั่งให้กรมการเมืองพัทลุงหาเงาะหน้าตาดีๆ ส่งไปถวาย กรมการเมืองพัทลุงได้คนังมา จัดให้มีการรับขวัญและมีการฉลองต้อนรับคนัง

[แก้] บางตอนจาก บทละครเรื่องเงาะป่า
กระทรวงศึกษาธิการเคยคัดมาไว้ในแบบเรียนภาษาไทยให้นักเรียนได้เรียนด้วย ดังนี้

๏ โอ๊ะเฮเฮเห่เฮเฮ
เห่เฮเฮเฮ้เห่
๏ ช้าหน่อยแม่นางก็อยเอย
อย่าทำใจน้อยหน้าตาบูดบึ้ง
ยิ้มเสียให้แฉ่งอย่าแสร้งมึนตึง
ช้าหน่อยแม่นางก็อยเอย ฯ

๏ ช้านิดแม่ชื่นจิตรเอย
อย่าใส่จริตกระดุ้งกระดิ้ง
ดอกไม้หอมกรุ่นฉุนฤๅจะทิ้ง
ช้านิดแม่ชื่นจิตรเอย ฯ
ช้าอืดแม่นางอืดเอย
ตามกันเปนยืดยักไหล่ฟ้อนรำ
อย่าให้ช้านักจักเสียลำนำ
ช้าอืดแม่นางอืดเอย ฯ
ช้าไว้แม่ชื่นใจเอย
รวังอกไหล่อย่าให้ปะทะ
จะเกิดรำคาญขี้คร้านเอะอะ
ช้าไว้แม่ชื่นใจเอย
อย่าแค้นแม่แสนงอนเอย
เวียนแต่ควักค้อนผูกคิ้วนิ่วหน้า
ผัดอีกหน่อยหนึ่งให้ถึงเวลา
อย่าแค้นแม่สอนงอนเอย
ชะต้าแม่ตาคมเอย
อย่าทำเก้อก้มเมียงเมินเขินขวย
เหลือบมาสักนิดขอพิศตาสวย
ชะต้าแม่ตาคมเอย
หน่อยแน่แม่กินรเอย
รำร่ายฟายฟ้อนให้ต้องจังหวะ
อย่าทำตัวเตี้ยเห็นจะเสียระยะ
หนอยแน่แม่กินรเอย
ถึงแล้วแม่แก้วตาเอย

นอกจากนี้เหม เวชกร ยังได้นำพระราชนิพนธ์เรื่องเงาะป่ามาเขียนเป็นนิทานภาพ ความยาว 140 ภาพ เอาไว้ และในชั้นหลัง ยังมีภาพยนตร์ไทยเรื่อง "เงาะป่า" ที่เขียนบทขึ้นตามพระราชนิพนธ์เรื่องนี้ด้วย
บทละครเรื่องนี้ นอกจากจะใช้เป็นบทสำหรับเล่นละครได้ดีแล้วยังมีคุณค่าทางวรรณคดีและวัฒนธรรมของพวกเงาะ ในทางวรรณคดีประกอบด้วย บทชมธรรมชาติ บทรัก บทแค้น บทโศก บทขบขัน และคติธรรม การใช้ถ้อยคำสำนวนง่ายๆ สละสลวย มีรสสัมผัส เป็นภาพพจน์และมีอุปมาอุปไมยแยบคายมากมาย ในทางวัฒนธรรมนับเป็นวรรณคดีเรื่องแรกของไทย ที่กล่าวถึงวัฒนธรรมของพวกเงาะ เช่น ภาษา การแต่งกาย ความเป็นอยู่ ประเพณี ความเชื่อ การทำมาหากิน เป็นต้น นอกจากนี้ยังให้แง่คิดในเรื่องต่างๆ เช่น ความไม่แน่นอนของสิ่งธรรมดาในโลก ความรักพิสูจน์ได้ด้วยการเสียสละ อาฆาตพยาบาทเป็นสิ่งไม่ควรประพฤติ เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

กาพย์เห่เครื่องคาวหวาน

๏ แกงไก่มัสมั่นเนื้อ นพคุณ พี่เอยหอมยี่หร่ารสฉุน เฉียบร้อนชายใดบริโภคภุญช์ พิศวาส หวังนาแรงอยากยอหัตถ์ข้อน อกให้หวนแสวง ๚ ๏ มัสมั่นแกงแก้วตา หอมยี่หร่ารสร้อนแรงชายใดได้กลืนแกง แรงอยากให้ใฝ่ฝันหา๏ ยำใหญ่ใส่สารพัด วางจานจัดหลายเหลือตรารสดีด้วยน้ำปลา ญี่ปุ่นล้ำย้ำยวนใจ๏ ตับเหล็กลวกหล่อนต้ม เจือน้ำส้มโรยพริกไทยโอชาจะหาไหน ไม่มีเทียบเปรียบมือนาง๏ หมูแนมแหลมเลิศรส พร้อมพริกสดใบทองหลางพิศห่อเห็นรางชาง ห่างห่อหวนป่วนใจโหย๏ ก้อยกุ้งปรุงประทิ่น วางถึงลิ้นดิ้นแดโดยรสทิพย์หยิบมาโปรย ฤๅจะเปรียบเทียบทันขวัญ๏ เทโพพื้นเนื้อท้อง เป็นมันย่องล่องลอยมันน่าซดรสครามครัน ของสวรรค์เสวยรมย์๏ ความรักยักเปลี่ยนท่า ทำน้ำยาอย่างแกงขมกลอ่อมกล่อมเกลี้ยงกลม ชมไม่วายคล้ายคล้ายเห็น๏ ข้าวหุงปรุงอย่างเทศ รสพิเศษใส่ลูกเอ็นใครหุงปรุงไม่เป็น เช่นเชิงมิตรประดิษฐ์ทำ๏ เหลือรู้หมูป่าต้ม แกงคั่วส้มใส่ระกำรอยแจ้งแห่งความขำ ช้ำทรวงเศร้าเจ้าตรากตรอม๏ ช้าช้าพล่าเนื้อสด ฟุ้งปรากฏรสหื่นหอมคิดความยามถนอม สนิทเนื้อเจือเสาวคนธ์๏ ล่าเตียงคิดเตียงน้อง นอนเตียงทองทำเมืองบนลดหลั่นชั้นชอบกล ยลอยากนิทรคิดแนบนอน๏ เห็นหรุ่มรุมทรวงเศร้า รุ่มรุ่มเร้าคือไฟฟอนเจ็บไกลในอาวรณ์ ร้อนรุมรุ่มกลุ้มกลางทรวง๏ รังนกนึ่งน่าซด โอชารสกว่าทั้งปวงนกพรากจากรังรวง เหมือนเรียมร้างห่างห้องหวน๏ ไตปลาเสแสร้งว่า ดุจวาจากระบิดกระบวนใบโศกบอกโศกครวญ ให้พี่เคร่าเจ้าดวงใจ๏ ผักโฉมชื่อเพราะพร้อง เป็นโฉมน้องฤๅโฉมไหนผักหวานซ่านทรวงใน ใคร่ครวญรักผักหวานนาง ๚• เห่ชมผลไม้๏ ผลชิดแช่อิ่มโอ้ เอมใจหอมชื่นกลืนหวานใน อกชู้รื่นรื่นรสรมย์ใด ฤๅดุจ นี้แมหวานเลิศเหลือรู้รู้ แต่เนื้อนงพาล ๚๏ ผลชิดแช่อิ่มอบ หอมตรลบล้ำเหลือหวานรสไหนไม่เปรียบปาน หวานเหลือแล้วแก้วกลอยใจ๏ ตาลเฉาะเหมาะใจจริง รสเย็นยิ่งยิ่งเย็นใจคิดความยามพิสมัย หมายเหมือนจริงยิ่งอยากเห็น๏ ผลจากเจ้าลอยแก้ว บอกความแล้วจากจำเป็นจากช้ำน้ำตากระเด็น เป็นทุกข์ท่าหน้านวลแตง๏ หมากปรางนางปอกแล้ว ใส่โถแก้วแพร้วพรายแสงยามชื่นรื่นโรยแรง ปรางอิ่มอาบซาบนาสา๏ หวนห่วงม่วงหมอนทอง อีกอกร่องรสโอชาคิดความยามนิทรา อุราแนบแอบอกอร๏ ลิ้นจี่มีครุ่นครุ่น เรียกส้มฉุนใช้นามกรหวนถวิลลิ้นลมงอน ชะอ้อนถ้อยร้อยกระบวน๏ พลับจีนจักด้วยมีด ทำประณีตน้ำตาลกวนคิดโอษฐ์อ่อนยิ้มยวน ยลยิ่งพลับยับยับพรรณ๏ น้อยหน่านำเมล็ดออก ปล้อนเปลือกปอกเป็นอัศจรรยมือใครไหนจักทัน เทียบเทียมที่ฝีมือนาง๏ ผลเกดพิเศษสด โอชารสล้ำเลิศปางคำนึงถึงเอวบาง สางเกศเส้นขนเม่นสอย๏ ทับทิมพริ้มตาตรู ใส่จานดูดุจเม็ดพลอยสุกแสงแดงจักย้อย อย่างแหวนก้อยแก้วตาชาย๏ ทุเรียนเจียนตองปู เนื้อดีดูเหลือเรืองพรายเหมือนศรีฉวีกาย สายสวาทพี่ที่คู่คิด๏ ลางสาดแสวงเนื้อหอม ผลงอมงอมรสหวานสนิทกลืนพลางทางเพ่งพิศ คิดยามสารทยาตรามา๏ ผลเงาะไม่งามแงะ มล่อนเมล็ดและเหลือปัญญาหวนเห็นเช่นรจนา จ๋าเจ้าเงาะเพราะเห็นงาม๏ สละสำแลงผล คิดลำต้นแน่นหนาหนามท่าทิ่มปิ้มปืนกาม นามสละมละเมตตา ๚• เห่ชมเครื่องหวาน๏ สังขยาหน้าไข่คุ้น เคยมีแกมกับข้าวเหนียวสี โศกย้อมเป็นนัยนำวาที สมรแม่ มาแมแถลงว่าโศกเสมอพ้อม เพียบแอ้อกอร ๚๏ สังขยาหน้าตั้งไข่ ข้าวเหนียวใส่สีโศกแสดงเป็นนัยไม่เคลือบแคลง แจ้งว่าเจ้าเศร้าโศกเหลือ๏ ซ่าหริ่มลิ้มหวานล้ำ แทรกใส่น้ำกะทิเจือวิตกอกแห้งเครือ ได้เสพหริ่มพิมเสนโรย๏ ลำเจียกชื่อขนม นึกโฉมฉมหอมชวยโชยไกลกลิ่นดิ้นแดโดย โหยไห้หาบุหงางาม๏ มัศกอดกอดอย่างไร น่าสงสัยใคร่ขอถามกอดเคล้นจะเห็นความ ขนมนามนี้ยังแคลง๏ ลุดตี่นี้น่าชม แผ่แผ่นกลมเพียงแผ่นแผงโอชาหน้าไก่แกง แคลงของแขกแปลกกลิ่นอาย๏ ขนมจีบเจ้าจีบห่อ งามสมส่อประพิมพ์ประพายนึกน้องนุ่งจีบกราย ชายพกจีบกลีบแนบเนียน๏ รสรักยักลำนำ ประดิษฐ์ทำขนมเทียนคำนึงนิ้วนางเจียน เทียนหล่อเหลาเกลากลึงกลม๏ ทองหยิบทิพย์เทียมทัด สามหยิบชัดน่าเชยชมหลงหยิบว่ายาดม ก้มหน้าเมินเขินขวยใจ๏ ขนมผิงผิงผ่าวร้อน เพียงไฟฟอนฟอกทรวงในร้อนนักรักแรมไกล เมื่อไรเห็นจะเย็นทรวง๏ รังไรโรงด้วยแป้ง เหมือนนกแกล้วทำรังรวงโอ้อกนกทั้งปวง ยังยินดีด้วยมีรัง๏ ทองหยอดทอดสนิท ทองม้วนมิดคิดความหลังสองปีสองปิดบัง แต่ลำพังสองต่อสอง๏ งามจริงจ่ามงกุฏ ใส่ชื่อดุจมงกุฏทองเรียมร่ำคำนึงปอง สะอิ้งน้องนั้นเคยยล๏ บัวลอยเล่ห์บัวงาม คิดบัวกามแก้วกับตนปลั่งเปล่งเคร่งยุคล สถนนุชดุจประทุม๏ ช่อม่วงเหมาะมีรส หอมปรากฏกลโกสุมคิดสีสไลคลุม หุ้มห่อม่วงดวงพุดตาน๏ ฝอยทองเป็นยองใย เหมือนเส้นไหมไข่ของหวานคิดความยามเยาวมาลย์ เย็บชุนใช้ไหมทองจีน ๚

กาพย์เห่เรือ

พระนิพนธ์ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ เห่ชมเรือ กระบวน

โคลง ปางเสด็จประเวศด้าว ชลาไลย ทรงรัตนพิมานไชย กิ่งแก้ว พรั่งพร้อมพวกพลไกร แหนแห่ เรือกระบวนต้นแพร้ว เพลิศพริ้งพายทอง ฯ
ช้าลวะเห่ พระเสด็จโดยแดนชล ทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย กิ่งแก้วแพร้วพรรณราย พายอ่อนหยับจับงามงอน นาวาแน่นเป็นขนัด ล้วนรูปสัตว์แสนยากร เรือลิ่วปลิวธงสลอน สาครสั่นครั้นครื้นฟอง
เรือครุฑยุดนาคหิ้ว ลิ่วลอยมาพาผันผยอง พลพายกรายพายทอง ร้องโห่เห่โอ้เห่มา สรมุขมุขสี่ด้าน เพียงพิมานผ่านเมฆา ม่านกรองทองรจนา หลังคาแดงแย่งมังกร สมรรถไชยไกรกาบแก้ว แสงแวววับจับสาคร เรียบเรียงเคียงคู่จร ดังร่อนฟ้ามาแดนดิน
สุวรรณหงส์ทรงภู่ห้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์ เพียงหงส์ทรงพรหมินทร์ ลินลาศเลือนเตือนตาชม เรือไชยไวว่องวิ่ง รวดเร็วจริงยิ่งอย่างลม เสียงเส้าเร้าระดม ห่มท้ายเยิ่นเดินคู่กัน ฯ มูละเห่ คชสีทีผาดเผ่น ดูดังเป็นเห็นขบขัน ราชสีห์ทียืนยัน คั่นสองคู่ดูยิ่งยง เรือม้าหน้ามุ่งน้ำ แล่นเฉื่อยฉ่ำลำระหง เพียงม้าอาชาทรง องค์พระพายผายผันผยอง เรือสิงห์วิ่งเผ่นโผน โจนตามคลื่นฝืนฝาฟอง ดูยิ่งสิงห์ลำพอง เป็นแถวท่องล่องตามกันนาคาหน้าดังเป็น ดูขะเม่นเห็นขบขัน มังกรถอนพายพัน ทันแข่งหน้าวาสุกรี เลียงผาง่าเท้าโผน เพียงโจนไปในวารี นาวาหน้าอินทรีย์ ที่ปีกเหมือนเลื่อนลอยโพยม ดนตรีมี่อึงอล ก้องกาหลพลแห่โหม โห่ฮึกครึกครื้นโครม โสมนัสชื่นรื่นเริงพล ค กรีฑาหมู่นาเวศ จากนคเรศโดยสาชล เหิมหื่นชื่นกระมล ยลมัจฉาสารพันมี ฯ

นิราศ

นิราศ คือ บทประพันธ์ที่แต่งขึ้นเพื่อบรรยายถึงสภาพการเดินทาง ด้วยสมัยก่อนการเดินทางค่อนข้าง ลำบากและใช้เวลานาน นักเดินทางจึงแก้ความเหงาเบื่อด้วยการประพันธ์บทกวี พรรณนาถึงการเดินทาง และสภาพภูมิประเทศ โดยมากมักโยงเข้ากับความรัก สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบาย ที่มาของนิราศไว้ ดังนี้
"หนังสือจำพวกที่เรียกว่านิราศ เป็นบทกลอนแต่งเวลาไปทางไกล มูลเหตุจะเกิดหนังสือชนิดนี้ขึ้น สันนิษฐานว่า คงเป็นเพราะเวลาเดินทาง ที่มักต้องไปเรือหลายๆ วัน มีเวลาว่างมาก ได้แต่นั่งๆ นอนๆ ไป จนเกิดเบื่อ ก็ต้องคิดหาอะไรทำแก้รำคาญ ผู้สันทัดในทางวรรณคดีจึงแก้รำคาญโดยทางกระบวนคิดแต่ง บทกลอน บทกลอนแต่งในเวลาเดินทางเช่นนั้น ก็เป็นธรรมดาที่จะพรรณนาว่าด้วยสิ่งซึ่งได้พบเห็นในระยะ ทาง แต่มักแต่งประกอบกับครวญคิดถึงคู่รักซึ่งต้องพรากทิ้งไว้ทางบ้านเรือน กระบวนความในหนังสือนิราศ จึงเป็นทำนองอย่างว่านี้ทั้งนั้น ชอบแต่งกันมาแต่ครั้งกรุงรัตนโกสินทร์...
นิราศที่แต่งกันในชั้นกรุงรัตนโกสินทร์ แต่งทั้งเป็นโคลงแลเป็นกลอนสุภาพ ดูเหมือนกวีที่แต่งนิราศ ในครั้งรัชกาลที่ ๑ รัชกาลที่ ๒ จะถือคติต่างกันเป็น ๒ พวก พวกหนึ่งถือคติเดิมว่า โคลงฉันท์เป็นของสำคัญ และแต่งยากกว่ากลอน กวีพวกนี้แต่งนิราศเป็นโคลงตามเยี่ยงอย่างศรีปราชญ์ทั้งนั้น กวีอีกพวกหนึ่งชอบ เพลงยาว อย่างเช่นเล่นกันเมื่อปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา กวีพวกนี้แต่งนิราศเป็นกลอนสุภาพทั้งนั้น ถ้าว่าเฉพาะ ที่เป็นกวีคนสำคัญในพวกหลังนี้ คือสุนทรภู่แต่งนิราศเป็นกลอนสุภาพมากเรื่องกว่าใครๆ หมด กลอนของ สุนทรภู่คนชอบอ่านกันแพร่หลาย ก็ถือเอานิราศของสุนทรภู่เป็นแบบอย่างแต่งนิราศกันต่อมา ตั้งแต่รัชกาล ที่ ๓ จนถึงรัชกาลที่ ๕"
นิราศของสุนทรภู่ นอกจากจะพรรณนาการเดินทางแล้ว ท่านยังสอดแทรกคติธรรม ข้อเตือนใจต่างๆ และเปรียบเทียบถึงชีวิตของตัวท่านเองเข้าไว้ด้วย ทำให้นักศึกษางานของท่านสืบเสาะประวัติของท่านจาก งานนิพนธ์ของท่านเองได้มาก ท่านสุนทรภู่แต่งนิราศไว้มาก แต่เท่าที่พบในปัจจุบันมี ๘ เรื่อง คือ นิราศเมืองแกลง นิราศพระบาท นิราศภูเขาทอง นิราศวัดเจ้าฟ้า นิราศอิเหนา นิราศสุพรรณ นิราศพระประธม และนิราศเมืองเพชร ส่วน รำพันพิลาป ก็มีเนื้อความรำพึงรำพันทำนองเดียวกับนิราศ เนื้อหาเกี่ยวกับชีวประวัติของท่านสุนทรภู่เป็น ส่วนใหญ่ นอกเหนือจากนี้ ในช่วงเวลาที่ท่านบวชเป็นพระนั้น ท่านได้ธุดงค์ไปทั่ว จึงเชื่อว่ายังมีนิราศ เรื่องอื่นของท่านที่ยังมิได้ค้นพบ หรืออาจไม่มีวันค้นพบก็ได้ เพราะต้นฉบับอาจถูกทำลายไปเสียแล้วเมื่อ ครั้งปลวกขึ้นกุฏิของท่านที่วัดเทพธิดาราม

กาพย์ฉบัง

กาพย์ฉบัง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

ฉันทลักษณ์ไทย
กาพย์
กลอน
โคลง
ฉันท์
ร่าย
ร้อยกรองแบบใหม่
กลวิธีประพันธ์
กลบท
กลอักษร
กาพย์ฉบัง เป็นคำประพันธ์ประเภทหนึ่ง จำพวกกาพย์ มักจะเขียนรวมอยู่ในหนังสือประเภทคำฉันท์ หรือคำกาพย์ มีลักษณะสั้น กระชับ จึงมักจะใช้บรรยายความที่มีการเคลื่อนไหว กระชับ ฉับไว แต่ก็มีบ้าง ที่ใช้กาพย์ฉบับบรรยายถึงความงดงาม นุ่มนวลก็มี
กาพย์ฉบัง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กาพย์ฉบัง 16 เนื่องจากมีจำนวนคำ 16 คำ ในหนึ่งบท บ้างก็เรียกว่า กาพย์ 16 เฉยๆ ก็มี

[แก้] คณะ
กาพย์ฉบังบทหนึ่ง มีบาทเดียว บาทหนึ่งมี 3 วรรค คือ
วรรคต้น จาน(รับ) มี 6 คำ
วรรคกลางตาย (รอง) มี 4 คำ
วรรคตาย (ส่ง) มี 6 คำ
บทหนึ่งจึงมีทั้งหมด 16

[แก้] สัมผัส
กาพย์ฉบังมีลักษณะสัมผัสคล้ายกับกาพย์ยานี เพียงแต่มี 3 วรรค การรับส่งสัมผัส เป็นดังนี้
คำท้ายวรรคต้น สัมผัสคำท้ายวรรคกลาง แทนด้วยอักษร ก ในแผนภาพโครงสร้างด้านล่าง
คำท้ายของวรรคกลาง อาจส่งสัมผัสไปยังคำแรกหรือคำที่สอง ของวรรคท้ายก็ได้ แทนด้วยอักษร ก และ ข ในแผนภาพโครงสร้างด้านล่าง
คำท้ายวรรคท้าย ส่งสัมผัสไปยังทำท้ายวรรคต้น ของบทต่อไป แทนด้วยอักษร ค ในแผนภาพโครงสร้างด้านล่าง
กาพย์ฉบังอาจเขียนร้อยต่อไป ยาวเท่าใดก็ได้ ไม่จำกัด





๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ก

๐ ๐ ๐ ก
ข ๐ ๐ ๐ ๐ ค

๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ค

๐ ๐ ๐ ค
๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ง
ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%87".