วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

กาพย์ฉบัง

กาพย์ฉบัง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

ฉันทลักษณ์ไทย
กาพย์
กลอน
โคลง
ฉันท์
ร่าย
ร้อยกรองแบบใหม่
กลวิธีประพันธ์
กลบท
กลอักษร
กาพย์ฉบัง เป็นคำประพันธ์ประเภทหนึ่ง จำพวกกาพย์ มักจะเขียนรวมอยู่ในหนังสือประเภทคำฉันท์ หรือคำกาพย์ มีลักษณะสั้น กระชับ จึงมักจะใช้บรรยายความที่มีการเคลื่อนไหว กระชับ ฉับไว แต่ก็มีบ้าง ที่ใช้กาพย์ฉบับบรรยายถึงความงดงาม นุ่มนวลก็มี
กาพย์ฉบัง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กาพย์ฉบัง 16 เนื่องจากมีจำนวนคำ 16 คำ ในหนึ่งบท บ้างก็เรียกว่า กาพย์ 16 เฉยๆ ก็มี

[แก้] คณะ
กาพย์ฉบังบทหนึ่ง มีบาทเดียว บาทหนึ่งมี 3 วรรค คือ
วรรคต้น จาน(รับ) มี 6 คำ
วรรคกลางตาย (รอง) มี 4 คำ
วรรคตาย (ส่ง) มี 6 คำ
บทหนึ่งจึงมีทั้งหมด 16

[แก้] สัมผัส
กาพย์ฉบังมีลักษณะสัมผัสคล้ายกับกาพย์ยานี เพียงแต่มี 3 วรรค การรับส่งสัมผัส เป็นดังนี้
คำท้ายวรรคต้น สัมผัสคำท้ายวรรคกลาง แทนด้วยอักษร ก ในแผนภาพโครงสร้างด้านล่าง
คำท้ายของวรรคกลาง อาจส่งสัมผัสไปยังคำแรกหรือคำที่สอง ของวรรคท้ายก็ได้ แทนด้วยอักษร ก และ ข ในแผนภาพโครงสร้างด้านล่าง
คำท้ายวรรคท้าย ส่งสัมผัสไปยังทำท้ายวรรคต้น ของบทต่อไป แทนด้วยอักษร ค ในแผนภาพโครงสร้างด้านล่าง
กาพย์ฉบังอาจเขียนร้อยต่อไป ยาวเท่าใดก็ได้ ไม่จำกัด





๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ก

๐ ๐ ๐ ก
ข ๐ ๐ ๐ ๐ ค

๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ค

๐ ๐ ๐ ค
๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ง
ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%87".

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น